สรุป 10 ประเด็นผลกระทบของ AI กับโลกการทำงานในอนาคต
จากรายงาน “Gen-AI: Artificial Intelligence and the Future of Work” โดย IMF

การประยุกต์ใช้ AI ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดแรงงานทั่วโลก และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละประเทศ ทั้งด้านดีที่ช่วยเพิ่ม productivity แต่ในทางกลับกันอาจทำให้บางตำแหน่งงานถูกแทนที่ด้วย AI 

AI ส่งผลต่อตำแหน่งงานทั่วโลกอย่างมาก โดยประเทศพัฒนาแล้วมักได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและลบมากกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งทำให้ช่องว่างทางสัมคมและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างประเทศยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

ผู้หญิงและบุคลากรที่มีการศึกษาสูง เป็นกลุ่มที่ต้องเผชิญกับ AI มากขึ้นจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จาก AI มากขึ้นตามไปด้วย บุคลากรที่มีอายุอาจต้องเผชิญกับความยากลำบากในช่วงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีนี้ ในขณะที่คนรุ่นใหม่จะสามารถปรับตัวเข้าสู่โลกการทำงานร่วมกับ AI ได้ดีกว่า

นอกจาก AI จะทำให้รายได้เฉลี่ยของแรงงานส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นแล้วยังเปลี่ยนโฉมหน้าของการกระจายความมั่งคั่งและรายได้อีกด้วย โดยสัดส่วนของทุนต่อแรงงานและประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้นจาก AI มีศักยภาพในการยกระดับค่าจ้างให้กับแรงงานหลากหลายระดับ และมีแนวโน้มมากขึ้นหาก AI สามารถเสริมทักษะแรงงานได้ในหลายบทบาท และเพิ่ม productivity ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การพัฒนาของ AI จะกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการแรงงานใหม่ ๆ ซึ่งอาจช่วยชดเชยผลกระทบจากการถูกแทนที่ด้วย AI อย่างไรก็ตามการถูกแทนที่ดังกล่าวแตกต่างจากการเข้ามาของระบบอัตโนมัติในอดีต (automation waves) ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงานทักษะกลางเป็นหลัก แต่ยุคของ AI บุคลากรในทุกระดับมีความเสี่ยงในการถูก AI แทนที่ทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่บุคลากรที่มีรายได้สูง และบุคลากรที่มีทักษะเชี่ยวชาญ 

โอกาสที่ AI จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพให้กับงานนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับระดับรายได้ กล่าวคือ “งานของคนที่มีรายได้สูง มีแนวโน้มที่จะใช้ AI เข้ามาเสริมประสิทธิภาพได้มากกว่างานที่มีรายได้ต่ำ” ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำของรายได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศจะกำหนดสิทธิ์ครอบครองเทคโนโลยี AI และนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างไร ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดผลกระทบสุดท้ายต่อการกระจายรายได้และความมั่งคั่งในประเทศ

ภาครัฐของต้องริเริ่มดำเนินการเชิงรุกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงประโยชน์จาก AI อย่างเท่าเทียม โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีนี้อาจจะเกิดปัญหาคนตกงานและการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

นโยบายต้องส่งเสริมการประยุกต์ใช้งาน AI อย่างมีธรรมมาภิบาล ฝึกฝนแรงงานรุ่นใหม่ให้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีใหม่ สามารถร่วมกับ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงนโยบายช่วยเหลือแรงงานปัจจุบันปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี 

การใช้งานและเชื่อมต่ออย่างไร้พรมแดนของ AI ยิ่งขยายความท้าทายด้านจริยธรรมและความปลอดภัยของข้อมูล ทำให้มีการร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ โดย 28 ประเทศและสหภาพยุโรป (EC) ได้ลงนามข้อตกลงด้าน AI ที่เรียกว่า “ปฏิญญาเบลตชลีย์ (Bletchley Declaration)” 

แต่ละประเทศมีความพร้อมในการรับมือกับปัญหาของ AI ที่ไม่เท่ากัน ทำให้มีความจำเป็นในการกำหนดนโยบายสากล (harmonized global principles) และออกกฎหมายเฉพาะภายในประเทศ (local legislation) เพื่อให้การใช้ประโยน์ของ AI เป็นไปอย่างเหมาะสม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุยกับ Abdul